พี่นุ๊กเปรียบเทียบ ความสำเร็จของ Narakorn Photography หรือ สิ่งสวยงามที่ทุกคนเห็นว่า มีผลงานดี มีแฟนๆ ติดตามมากมาย ว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพเต็ม เหมือนภูเขาน้ำแข็งที่มียอดโผล่มานิดเดียวเท่านั้น
เบื้องหลังหรือสิ่งที่ทุกคนอาจจะไม่เห็น ซึ่งเป็นที่มาของความสำเร็จในทุกวันนี้คือ
Branding
สำหรับพี่นุ๊ก Branding ไม่ใช่ความดัง แต่คือ “จุดขาย” คือการที่คนอื่นรับรู้ว่าคนคนนี้เป็นยังไง เมื่อพูดถึงชื่อนี้แล้วนึกถึงอะไร คือความชัดเจน คือจุดเด่นของเรา
ทำไมต้องมี Branding
เพราะตากล้องที่เก่งที่สุด อาจจะไม่ใช่ตากล้องที่ดังที่สุด ในวงการช่างภาพ เก๋งอย่างเดียวไม่พอ
DNA ของการประสบความสำเร็จ
คือ สิ่งจะสะท้อนออกมาในงานผลงาน เวลาที่เราไปถ่ายรูปลูกค้า
Taste รสนิยม
เป็นสิ่งเกิดจากการเสพและซึมซับ โดย style ของเราต้องตอบรับกับตลาดด้วย สามารถสร้างได้แต่สร้างยาก ต้องเสพเยอะๆ มี Idol หรือตัวอย่างที่เราชื่นชอบ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราชอบงานยังไง อยากพัฒนางานไปทางไหน
Differentiate มีความแตกต่าง
การเปลี่ยนมุมมองและพัฒนางานถ่ายในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การพยายามสร้างความแตกต่างโดยเริ่มเปลี่ยนมองลองใช้กล้องดิจิตัลเมื่อ 10 ปีที่แล้วและลองเปลี่ยนมุมการถ่าย ซึ่งทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีเพิ่มขึ้น อะไรที่ยังไม่มีคนทำ เราต้องลองทำ และคิดว่าทำยังไงให้ลูกค้าคุ้มค่าที่สุด ซึ่งอันนี้บางครั้งก็เป็นการลองผิดลองถูก เช่น การซื้อเฮลิคอปเตอร์ ราคาหลักล้าน เพราะอยากพัฒนางาน Cinema ให้มีมุมมองที่แปลกใหม่ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว จนสมัยนี้เฮลิคอปเตอร์บินนิ่งเหมือนกันแต่ราคาถูกมาก
Professional มีความเป็นมืออาชีพ
ช่างภาพที่จะมารับถ่ายงาน wedding มีความเป็นศิลปินได้ แต่ต้องมีความเป็น professional สูงกว่า ไม่ใช่ว่าวันนี้อารมณ์ไม่ดีเลยไม่ไปถ่ายงาน แบบนี้ไม่ได้ ลูกค้าไว้ใจเลือกเราแล้วก็ต้องทำงานให้ได้ตามที่ลงพอร์ต ลงโฆษณาไว้ และต้องทำให้ได้ตาม standard ทุกครั้ง ซึ่งการรักษามาตรฐานนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับการทำ Branding เพราะเค้าจะไว้ใจได้ว่าได้รูปสวยแน่นอน
เรื่องลูกค้าคนนี้ถ่ายยากถ่ายง่ายไม่ใช่ประเด็น เช่น ถ้าบอกแล้วลูกค้าไม่ยิ้มเลย 4-5 ครั้งเราก็ยังต้องบิวด์เค้าต่อไป ในชั่วโมงทำงานต้องทำงานเต็มที่ ทำสิ่งที่เราต้องทำ เราเคยทำอย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้นกับบ่าวสาวทุกคู่
ต้องมีการลงทุนในอุปกรณ์ที่ใช้ ปกติเคยใช้กล้อง Mark III ถ้ากล้องเสียก็ต้องหาอุปกรณ์ที่เทียบเท่าให้ ไม่ใช่หาอะไรมาก็ได้ ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเองในการรักษามาตรฐาน
Up Level
Up ผลงานก่อน Up ราคา การให้ทำงานเกินราคา จะทำให้เราสามารถ up ราคาได้ในภายหลัง ถ้างานเราดี ครั้งหน้าเราก็เรียกราคาแพงขึ้นได้ เพราะลูกค้าเห็นว่าคุ้ม แต่คนยุคนี้มักทำตรงข้ามคือ ขึ้นราคาก่อนแต่ผลงานไม่ถึง ทำงานแต่ละครั้งให้ทำสุดฝีมือตัวเองเท่าที่จะทำได้
Opportunity
เตรียมพร้อมสำหรับทุกโอกาสที่เข้ามา เพราะงานใหญ่ๆ(งานลูกค้าองค์กร) หรือลูกค้างานแต่งงานในกลุ่มบน จะมีความคาดหวังสูง จึงมีการประชุมเตรียมงานก่อนหลายครั้ง เราก็ต้องพร้อม งานมีจะความละเอียดในระดับที่เราไม่เคยเจอในงานทั่วไป เช่น งานของคุณน๊อตคุณชมพู่ คุณน๊อตเอาเงินมาถามถึงวิธีเรียงแบบไหนให้ถ่ายรูปสวย
Team
ต่อให้คุณถ่ายรูปเก่งยังไง เราถ่ายได้เต็มที่เท่าที่ 1คนถ่าย เพราะฉะนั้นเราต้องมีทีมที่ดี ไม่ได้แปลว่าทุกคนต้องเก่งเหมือนคุณ แต่ทีมที่ดีต้องส่งเสริมการทำงานของคุณได้ ไม่ต้องมีอีกคนให้มากังวล ภาพจะได้ต่อเป็นเรื่องราว มี synergy คือ 1+1 มากกว่า 2
ตอนนี้ในทีมทำงานกันจนรู้ว่าใครต้องอยู่ตรงไหน ได้ภาพจากทุกมุมไม่ต้องกังวล
ตอนนี้ Package 3 กล้องตัว เป็นการทำงานที่ลงตัวที่สุด ส่วนเรื่องการคุยราคาให้มีคนรับผิดชอบแยกไป
I’ll Survive
ช่างภาพที่ขายตัดราคา ทุกอุตสาหกรรมมีปัญหานี้เพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นเยอะ ฉะนั้นไม่ต้องคิดเรื่องคนตัดราคา เพราะยังไงก็มี ให้คิดว่าทำให้ยังไงให้มี Value เพิ่ม เราต้องดูตัวอย่างแบบเยอรมันหรือสวิส ที่เค้าไม่ได้เน้นเรื่องราคาเหมือนจีน แต่เน้นเรื่องไอเดียและนวัตกรรม ทำอะไรที่คนอื่นทำไม่ได้ ถ้าใน 1ปีคนใหม่ๆที่เข้ามาฝีมือดีขึ้นเรื่อยๆ เราก็ต้องพัฒนาไปด้วย
คู่แข่ง
1. Technology ใหม่ๆ ที่เข้ามา
2. Guest แขกที่มาร่วมงาน ที่บางครั้งอยู่ถูกที่ถูกเวลา แถมโพสได้เร็วกว่าเราส่งงาน
3. Yourself สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องออกไปฝึกฝน พัฒนาฝีมือตัวเอง ไม่ใช่แค่นั่งอยู่หน้าจอคอม
ที่ 1 กับ ที่ 2 ห่างกันแค่ก้าวเดียว เราต้องรู้ว่า เราจะทำรูปนี้ให้ดีกว่านี้ได้ยังไง อีกนิดนึงที่ดีกว่า “เพราะความสำเร็จ ไม่มีคำว่าสำเร็จรูป”